8 ไอเดียแต่งบ้านให้เย็นสบายน่าอยู่ทั้งปี

Anuwat Anuwat
Juanapur Farmhouse, monica khanna designs monica khanna designs Salas de estar modernas
Loading admin actions …

เมืองไทยเป็นประเทศเขตร้อน อย่างที่ทราบกันดีอุณหภูมิร้อนตลอดทั้งปี ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการออกแบบและตกแต่งบ้าน เพราะความร้อนทำให้การอยู่อาศัยจำเป็นต้องพึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้า จำพวก พัดลมและแอร์ปรับอากาศ อย่างไรก็ตามวิธีการดังกล่าวไม่สามารถช่วยลดอุณหภูมิที่ร้อนได้อย่างแท้จริง กลับกันยังสร้างภาวะโลกร้อนจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือใช้พลังงานไฟฟ้ามากเกินไป

และวิธีการแบบไหนจะตอบโจทย์การออกแบบและตกแต่งบ้านให้มีอุณหภูมิเย็นสบายตลอดทั้งปี ซึ่งในปัจจุบันมีหลากหลายวิธี อาทิ การสร้างพื้นที่สีเขียว การตกแต่งภายในให้โปร่ง โล่ง สบาย หรือจะเป็นการแปรเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานทดแทนด้วยแผงโซลาเซลล์ ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างเป็นจุดเริ่มต้นและวิธีการปฏิบัติที่ดีรองรับสภาพภูมิอากาศที่ผันผวนและร้อนมากได้อย่างสมดุล

ซึ่งในวันนี้ Homify นำพาทุกท่านไปเรียนรู้ไอเดียการตกแต่งบ้านให้มีอุณหภูมิคงที่ สามารถนำไปต่อยอดสำหรับที่อยู่อาศัยของทุกคนได้อย่างสร้างสรรค์

1.เปิดรับแสง

บริบทโดยรอบของบ้านหลังนี้ มุ่งเน้นการตกแต่งที่นำเอากระจกใสมาจัดวางบริเวณผนังในทุกจุด โดยความโดดเด่นของกระจกใสสามารถเปิดรับแสงจากภายนอกได้อย่างอิสระ ซึ่งความส่องสว่างจากแสงธรรมชาตินั้น ช่วยปรับบรรยากาศและอุณหภูมิภายในบ้านให้เกิดความสมดุล ขณะเดียวกันแสงดังกล่าวยังเข้ามาเพิ่มความส่องสว่างภายในบ้าน ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แม้ว่าการใช้ผนังจากกระจกจะเกิดความร้อนในบางช่วงเวลาแต่นักออกแบบก็ลดความร้อนของแสงแดดด้วยการปลูกต้นไม้นานาชนิดไว้ใกล้กับบริเวณใกล้เคียง อีกทั้งยังมีการต่อชายคาเพื่อช่วยลดความร้อนให้กับตัวบ้านได้เป็นอย่างดี

2.ใช้วัสดุจากธรรมชาติ

อีกหนึ่งแนวคิดในการควบคุมอุณหภูมิภายในบ้านคือการนำเอาวัสดุธรรมชาติอย่างเช่นไม้มาปลูกสร้าง ทั้งในส่วนของโครงสร้าง เสา คาน เพดาน ผนังและพื้น ข้อดีของไม้นั้นไม่ดูดซับความร้อนในทางกลับกันเมื่อเทียบกับวัสดุก่อสร้าง อื่นอย่างเช่น คอนกรีตที่ดูดซับและคงไว้ซึ่งความร้อนได้ยาวนานกว่า ฉะนั้นแล้วไม้และวัสดุก่อสร้างจากธรรมชาติชนิดอื่นๆ เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการควบคุมอุณหภูมิภายในบ้านให้เย็นสบายตลอดทั้งปี

3.พื้นที่สีเขียว

ความร้อนของอากาศสามารถบรรเทาได้โดยธรรมชาติ การปลูกสร้างบ้านในปัจจุบันมุ่งเน้นในเรื่องของการสร้างพื้นที่สีเขียว เพราะข้อดีของต้นไม้นั้นสามารถบดบังแดด ให้ร่มเงา เพิ่มความสดชื่นและสดใส รวมทั้งโอโซนที่บริสุทธิ์ในอากาศได้เป็นอย่างดี สำหรับประเภทต้นไม้ที่นิยมนำมาใช้ในการตกแต่งนั้น ปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลาย ทั้งไม้ยืนต้น ไม้ดอก ไม้ประดับ พุ่มไม้ รวมทั้งไม้เลื้อย ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วนำมาปรับใช้กับรูปแบบบ้านที่แตกต่างกันออกไปได้อย่างลงตัว

4.ปลูกสร้างนอกชานหน้าบ้าน

นอกชานหน้าบ้านหนึ่งมุมพักผ่อนที่ควรปลูกสร้างให้กับตัวบ้าน เพราะพื้นที่ดังกล่าวสามารถตกแต่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นในการสร้างความเย็นให้กับตัวบ้าน อาทิ บ่อน้ำ ต้นไม้  รวมทั้งวัสดุต่อเติมจากไม้ ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่มีคุณสมบัติเด่นในเรื่องของการบรรเทาความร้อนได้เป็นอย่างดี

5.มวลความเย็นจากน้ำ

การสร้างแหล่งน้ำไว้โดยรอบของบริเวณบ้าน อาทิ สระว่ายน้ำ มวลความเย็นของน้ำเมื่อสัมผัสกับลมจะนำความเย็นเข้าสู่ตัวบ้านซึ่งสามารถลดอุณหภูมิความร้อนที่ติดอยู่กับผนังบ้าน ทั้งนี้ความเย็นจากน้ำยังเพิ่มความผ่อนคลายให้กับผู้อยู่อาศัยและพื้นที่สีเขียวโดยรอบได้เป็นอย่างดี

6.กระเบื้องดินเผา

หลังคาหนึ่งสัดส่วนที่สำคัญในงานออกแบบที่สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในบ้านให้เย็นสบาย เราควรเลือกหลังคาที่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติอย่างเช่น กระเบื้องดินเผา ซึ่งสะท้อนความร้อนได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำกระเบื้องดังกล่าวมาทาสีกันความร้อนจะยิ่งสามารถระบายความร้อนได้อีกเท่าตัว ที่สำคัญประหยัดพลังงานภายในบ้านได้อีกหนึ่งช่องทางด้วย

7.ใช้โทนสีที่ไม่ฉูดฉาด

การใช้โทนสีของบ้าน ควรเลือกสีที่เย็นสบายอย่างเช่น สีฟ้า สีครีม สีขาว รวมทั้งสีโทนอ่อนต่างๆ ในทางกลับกันไม่ควรเลือกสีที่เข้มเพราะโทนสีดังกล่าวดูดความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้อย่างรวดเร็ว ฉะนั้นไม่ควรมองข้ามในเรื่องของโทนสีเพราะมีส่วนสำคัญกับอุณหภูมิของบ้าน

8.รั้วต้นไม้ โปร่งสบาย

รั้วบ้านควรออกแบบในลักษณะโปร่ง ไม่ทึบ เพื่อไม่กีดขวางทิศทางการเคลื่อนที่ของลม โดยรั้วที่นิยมนำมาใช้ในการควบคุมอุณหภูมิบ้านให้เย็นสบายนั้น ได้แก่ รั้วบ้านที่ทำจากพุ่มไม้ รั้วไม้ รวมทั้งรั้วที่มีช่องลมถ่ายเทอากาศได้สะดวก หลากหลายคนอาจจะมองข้ามแต่รั้วเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กัน

ถือได้ว่าการควบคุมอุณหภูมิภายในบ้านเป็นวิธีการหนึ่งที่เหมาะสมในการนำมาปรับใช้

Precisa de ajuda com um projeto em sua casa?
Entre em contacto!

Destaques da nossa revista